หลักการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การนำองค์ประกอบต่างๆ มาจัดหรือรวบรวมเข้าด้วยกันอย่างมีระบบไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ภาพ หรือพื้นที่ว่างเพื่อออกแบบสิ่งพิมพ์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ที่ต้องการ ก่อนการออกแบบมีการวางแผน ดังนี้
1. ศึกษา และทำความเข้าใจหนังสือ
ก่อนที่จะทำการออกแบบ นักออกแบบจะต้องพยายามหาข้อมูลจากผู้เขียนหรือสำนักพิมพ์เกี่ยวกับ
– วัตถุประสงค์ในการเขียนหรือจัดทำหนังสือ
– ลักษณะของผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายใด คนกลุ่มนี้มีพฤติกรรม และความชอบไม่ชอบอย่างไร
– ผู้เขียนมีความคิดหลัก หรือแนวคิดเบื้องหลังของหนังสืออย่างไรรวมทั้งเป็นหนังสือประเภทใดและควรจะมีบุคลิกภาพแบบไหน
2. หลักความสมดุล (Balance)
หมายถึง การกำหนดและการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ภาพ หรือพื้นที่ว่างให้มีน้ำหนัก และขนาดในสัดส่วนที่เท่าๆ กันหรือกันเคียงกันทั้ง 2 ข้าง
3. ความมีเอกภพ (Unity)
หมายถึง การจัดองค์ประกอบให้มีการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยไม่แตกแยกกระจัดกระจาย สะเปะสะปะ ซึ่งถ้างานออกแบบขาดความเป็นเอกภาพจะทำให้ชิ้นงานไม่น่าสนใจ
4. การเน้นจุดความสนใจ (Emphasis)
หมายถึง การสร้างจุดสนใจให้เกิดขึ้นในงานออกแบบ โดยการกำหนดบริเวณใดบริเวณหนึ่งในชิ้นงานที่่เหมาะสม ให้มีลักษณะพิเศษกว่าบริเวณอื่น เพื่อให้ดึงดูดความสนใจแก่ผู้อ่าน
5. ความเรียบง่าย (Simplicity)
หมายถึง การวางองค์ประกอบในการจัดภาพควรเน้นที่มีความเรียบง่าย ไม่รกรุงรังเพราะแม้ว่าผู้ออกแบบจะสามารถออกแบบงานหรูหรา แต่หากไม่สามารถสื่อความหมายได้ตามที่ต้องการก็สูญเปล่า
6. สี (Color)
หมายถึง สีเป็นส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับการผลิตงานกราฟิกทุกประเภท แต่ก็ควรจะรู้จดจำ นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เนื่องจากการใช้สีจะช่วยในการเน้น การแยกแยะหรือเสริมความเป็นเอกภาพของกราฟิกนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี การออกแบบกราฟิกโดยใช้คุณสมบัติของสีพิจารณาได้จากวงล้อสี เพื่อใช้แนะนำมาช่วยให้ผู้ดูเกิดการเรียนรู้เนื้อหาได้อย่างถูกต้อง
เทคนิคการเลือกใช้สี สำหรับการออกแบบ Presentation

สี คือ ส่วนสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในงานออกแบบ เพราะสีจะกำหนดความรู้สึกและสร้างอารมณ์ของผู้รับชม ไม่ว่าจะเป็นสีโทนเดียว (monochromatic), สดใส (bright), สดชื่น (cool), อบอุ่น (warm), หรือการเติมเต็มเฉดสีที่หลากหลายให้ทำหน้าที่ที่แตกต่างกันในหนึ่งชิ้นงานออกแบบ


สี คือ ส่วนสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในงานออกแบบ เพราะสีจะกำหนดความรู้สึกและสร้างอารมณ์ของผู้รับชม ไม่ว่าจะเป็นสีโทนเดียว (monochromatic), สดใส (bright), สดชื่น (cool), อบอุ่น (warm), หรือการเติมเต็มเฉดสีที่หลากหลายให้ทำหน้าที่ที่แตกต่างกันในหนึ่งชิ้นงานออกแบบ
1. ตัวหนังสือ
การใช้ตัวหนังสือให้เข้ากับ Backgraound เพื่อความแตกต่างของสีให้ผู้ชมสามารถอ่านข้อความได้ง่ายขึ้น
– ถ้าตัวหนังสือเป็นสีอ่อน ควรเลือก Backgraound สีเข้ม
– ถ้า Backgraound เป็นสีอ่อน ควรเลือกให้ตัวหนังสือเป็นสีเข้ม

2. ใช้สีเพียง 3-4 สีก็พอ
การเลือกใช้สีเพียงแค่ 3-4 สีก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ผู้ชมสนใจที่จะอ่าน และมองสไลด์ที่คุณออกแบบมา เพราะการเลือกใช้ที่เยอะมักจะทำให้ผู้ชมสับสนว่าคุณต้องการจะสื่อสารอะไร

3. ใช้ทฤษฎีสี 60-30-10
เลือกใช้สีโดยนำทฤษฎี 60-30-10 โดยการแบ่งการออกแบบสไลด์เป็นหน่วยแบบเปอร์เซ็นต์
60% แรก คือ การใช้สีพื้นของสไลด์
30% สำหรับสีที่ 2 ที่ใช้ในสไลด์
10% สุดท้าย คือ การนำสีไปใช้ในการเน้นหรือไฮไลท์ส่วนที่สำคัญของสไลด์
วิธีนี้จะช่วยให้ Balance สีให้เข้ากัน และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

สี และจิตวิทยา
สีฟ้า
ให้ความรู้สึกสงบ สุขุม สุภาพ หนักแน่น เคร่งขรึม เอาการเอางาน ละเอียด รอบคอบสง่างาม มีศักดิ์ศรี สูงศักดิ์ เป็นระเบียบถ่อมตน สามารถลดความตื่นเต้น และช่วยทำให้มีสมาธิ แต่ถ้ามีสีน้ำเงินเข้มเกินไป ก็จะทำให้รู้สึกซึมเศร้าได้
สีเขียว
เป็นสีในวรรณะเย็น จะสร้างความรู้สึกเย็นสบาย ใช้เป็นสีที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ให้ความรู้สึก สงบ เงียบ ร่มรื่น ร่มเย็น การพักผ่อน การผ่อนคลาย ธรรมชาติ ความปลอดภัยปกติ ความสุข ความสุขุม เยือกเย็น
สีเหลือง
เป็นสีแห่งความเบิกบาน เร้าอารมณ์ และเรียกร้องความสนใจ ให้ความรู้สึกแจ่มใสความสดใส ความร่าเริง ความเบิกบานสดชื่น ชีวิตใหม่ ความสด ใหม่ ความสุกสว่าง การแผ่กระจาย อำนาจบารมี ให้ลองสังเกตดูว่า วันที่ท้องฟ้ามืดครึ้มปราศจากแสงแดด เราจะรู้สึกหงอยเหงา หดหู่ แต่พอมีแสงแดด ท้องฟ้าสว่าง มีสีเหลือง เราจะรู้สึกมีชีวิตชีวาขึ้
สีแดง
เป็นสีที่สร้างความตื่นเต้น และกระตุ้นสมอง สีแดงปานกลางแสดงถึงความมีสุขภาพดีความมีชีวิต ความรัก ความสำคัญ ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง สีแดงจัดมีความหมายแฝงด้านกามารมณ์ นอกจากนี้สีแดงยังสร้างความรู้สึกรุนแรง ให้ความรู้สึกร้อน กระตุ้น ท้าทาย เคลื่อนไหว ตื่นเต้น เร้าใจ มีพลัง มันจะใช้กันกรณีที่เกี่ยวกับความตื่นเต้น หรืออันตราย
สีม่วง
ให้ความรู้สึก มีเสน่ห์ น่าติดตาม เร้นลับ ซ่อนเร้น มีอำนาจ มีพลังแฝงอยู่ ความรักความเศร้า ความผิดหวัง ความสงบ ความสูงศักดิ์ เป็นสีที่ปลอบโยน และช่วยลดความเครียดแต่เดิมสีม่วงได้มาจากสัตว์มีกระดอง,เปลือก ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีชื่อว่า Purpura จึงได้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Purple
สีส้ม
ให้ความรู้สึก ร้อน ความอบอุ่น ความสดใส มีชีวิตชีวา วัยรุ่น ความคึกคะนองการปลดปล่อย ความเปรี้ยว การระวังเป็นสีที่เร้าความรู้สึก ปรกติควรใช้แต่น้อยเมื่อเทียบกับสีอื่น สังเกตว่าคนที่อยู่ในห้องสีส้มจะอยู่ได้ไม่นาน
สีน้ำตาล
ให้ความรู้สึกอบอุ่น ได้พักผ่อน แต่ควรใช้ร่วมกับสีส้ม เหลือง หรือสีทอง เพราะถ้าใช้สีน้ำตาลเพียงสีเดียว อาจทำให้เกิดความรู้สึกหดหู่ได้
สีเทา
ให้ความรู้สึก เศร้า อาลัย ท้อแท้ ความลึกลับ ความหดหู่ ความชรา ความสงบความเงียบ สุภาพ สุขุม ถ่อมตน สีนี้มีข้อดีคือทำให้เย็น แต่สร้างความสร้างความรู้สึกหม่นหมองได้ ควรใช้ร่วมกับสีที่มีชีวิต โทนสว่างอย่างน้อยหนึ่งสี
สีขาว
ให้ความรู้สึก บริสุทธิ์ สะอาด สดใส เบาบาง อ่อนโยน เปิดเผย การเกิด ความรัก ความหวัง ความจริง ความเมตตา ความศรัทธา ความดีงาม
การออกแบบปก และเนื้อหา
ปกหน้า
ปกหน้าของหนังสือเป็นหน้าที่สำคัญ โดยหน้าปกจะต้องทำหน้าที่ดึงดูดความสนใจ
ของผู้พบเห็นให้อยากหยิบขึ้นมาดูจากชั้นหนังสือ ในขณะเดียวกันปกหน้าหนังสือจะต้องทำหน้าที่สื่อสารให้เห็น ลักษณะของเนื้อเรื่องภายในหนังสือ

1 .ชื่อหนังสือหรือชื่อเรื่อง
เป็นองค์ประกอบในส่วนของตัวอักษรที่จะต้องได้รับการออกแบบให้โดดเด่นกว่าตัวอักษรอื่นๆ ขนาดของตัวอักษรที่ใช้เป็นตัวหนังสือมักมีขนาดใหญ่ เพื่อให้ผู้อ่านเห็นได้ชัดเจน
– รูปแบบของตัวอักษร จะต้องสะท้อนบุคลิกภาพของหนังสือว่าเนื้อเรื่องมีลักษณะเป็นประเภทใด เช่น ใช้ตัวอักษรที่มีรูปแบบโค้งมนและมีหางลากยาวๆ เป็นต้น
– ตำแหน่งของชื่อหนังสือ อาจจะอยู่ที่ใดในปกหน้าก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ นิยมวางไว้ในส่วนบนของหน้า เพราะเป็นตำแหน่งที่ผู้พบเห็นจะมองก่อนส่วนอื่นๆ
2. ชื่อผู้แต่งหรือชื่อผู้แปล
เป็นองค์ประกอบในส่วนของตัวอักษรที่มีความสำคัญรองลงมาจากชื่อหนังสือ และขนาดของตัวอักษรควรมีขนาดเล็กกว่า ชื่อหนังสือหรือชื่อเรื่อง อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง เพื่อไม่ให้แย่งกันเด่น ส่วนรูปแบบตัวอักษรมักใช้ตามลักษณะบุคลิกภาพของหนังสือ
3. ภาพประกอบหน้าปก
ปกหนังสือแทบทุกเล่มจะมีภาพประกอบ บางภาพก็บ่งบอกถึงเนื้อหาได้ดี บางภาพก็ทิ้งปริศนาไว้ให้ครุ่นคิด หรือบางภาพก็ดูจะไม่เกี่ยวอะไรกับเนื้อหาข้างในเลย แต่นั่นก็เป็นเสน่ห์ของหนังสือที่ดึงดูดใจให้ผู้อ่านหยิบขึ้นมาอ่านได้เช่นกัน
4. ข้อความประกอบหน้าปก
อาจมีในหนังสือบางเล่มเพื่อเพิ่มรายละเอียดที่สำคัญเพิ่มเติม เช่น หนังสือในชุดนี้มีหลายเล่มข้อความเหล่านี้ควรได้รับการออกแบบให้มีความสำคัญรองจากชื่อหนังสือ และชื่อผู้แต่งหรือผู้แปลทั้งในด้านขนาด รูปแบบ ส่วนตำแหน่งก็มักวางอยู่เหนือชื่อหนังสือ เช่น มุมขวาบน
5. ตราสัญลักษณ์ของสำนักพิมพ์ (ถ้ามี)
อาจจะอยู่ในหน้าปกหรือในส่วนอื่นๆ เช่น สันหนังสือ โดยมักไม่ให้มีขนาดใหญ่มากนัก และวางอยู่ในตำแหน่งที่แยกออกจากองค์ประกอบอื่นๆ อย่างชัดเจน
ปกหลัง
เป็นหน้าที่อาจเว้นว่างไว้หรือใส่ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนหนังสือ เช่น ประวัติหรือผลงานในอดีต ซึ่งอาจจะมีไว้ในปกด้านในก็ได้

การออกแบบหน้าเนื้อหา

1. หัวข้อของเนื้อหา
ควรมีความโดดเด่น สวยงามกว่าข้อความของเนื้อหา เพื่อให้เกิดความน่าสนใจซึ่งสามารถตกแต่งให้โดดเด่นได้ ดังนี้
– โดดเด่นขนาด คือ ต้องมีขนาดใหญ่กว่าเนื้อหาทั่วไป
– เด่นด้วยสี คือ ควรเป็นสีที่สวยงามโดดเด่นจากพื้นหลัง
– เนื้อหาเด่นด้วยตำแหน่ง คือไม่จำเป็นต้องอยู่ต้องกลางหน้ากระดาษหรือด้านบนเสมอไปสามารถวางไว้ในตำแหน่งที่เยื้องไปด้านใดด้านหนึ่งได้

2. การสร้างหน้าเนื้อหานั้น ๆ ควรมีทั้งรูปและข้อความ
ไม่ควรมีแต่ตัวอักษรเพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้หน้านั้นขาดความน่าสนใจไม่น่าอ่าน ควรมีรูปที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาเพื่อช่วยในการอธิบายข้อความ อีกทั้งยังทำให้เกิด ความสวยงาม

3. ไม่ควรวางตำแหน่งข้อความให้ชิดขอบเกินไป
ไม่ว่าจะเป็นขอบด้านบน ชิดขอบด้านล่างชิดด้านซ้าย หรือชิดด้านขวา

4. หากต้องการเน้นเนื้อหาที่เป็นข้อความ
ควรหลีกเลี่ยงการนำรูปภาพมาเป็นพื้นหลังให้กับข้อความ เนื่องจากจะทำให้ตัวหนังสือไม่ชัดเจน หากต้องการนำรูปภาพนั้นเป็นพื้นหลัง ควรเพิ่มรูปร่างให้เป็นกรอบข้อความ และเพิ่มค่าความโปร่งใส จะทำให้ได้ทั้งรูปภาพพื้นหลังและได้ตัวเนื้อหาที่ชัดเจน สวยงาม


5. ควรจัดวางตำแหน่งของข้อความที่หลากหลายในแต่ละหน้า
เพื่อไม่ให้เกิดความจำเจขณะอ่าน
